ตอนนี้เวลาสอบ GAT PAT รอบธันวาคมก็เข้ามาเรื่อยๆ พี่ก็อยากบอกว่าให้ตั้งสติ อย่าเพิ่งไปเครียดกับผลคะแนนที่มันจะเกิดขึ้นครับ และให้กำลังใจตัวเอง ว่าเราต้องทำได้ แล้วก็เริ่มนับ 1 ตอนนี้
บางคนก็อาจจะเริ่มๆ มาแล้วตั้งแต่ตุลาคม แต่ก็เว้นๆ ไปบ้าง มาตอนนี้ก็อยากให้กลับมาเริ่มตั้งสติใหม่ มีสมาธิกับการอ่านหนังสือมากขึ้น แล้วก็ไม่ต้องไปกดดันว่าทำได้หรือไม่ได้ คือ เราทำปัจจุบันให้ดีที่สุด ผลออกมายังไงเราก็ภูมิใจแล้ว
แต่จะเริ่มยังไง พี่ต้อมขอแนะนำเนื้อหาหลักๆ ?? ที่สำคัญก่อน คือ บทจำนวนจริงเพราะค่อนข้างที่จะกว้าง มีเนื้อหาเรื่องการแก้สมการ อสมการที่อยู่ใน ม.ปลายทั้งหมด พออ่านทวนเรื่องนี้ ก็ค่อยๆไล่เนื้อหาไป อ่านสรุป แล้วก็ฝึกทำในแต่ละเนื้อหา แล้วก็ไล่มา ส่วนของ ม.4 ก็ได้แก่เซท ตรรกศาสตร์ ความสัมพันธ์ฟังก์ชั่น เรขาคณิตวิเคราะห์
แล้วก็ไปต่อเนื่อง ม.5 ก็เรื่อง เอ็กซ์โปแนลเชียล ล็อกกาลิทึ่ม ตรีโกณมิติ จำนวนเชิงซ้อน เวคเตอร์ ส่วนเนื้อหาส่วนของ ม. 6 ซึ่งบทที่พี่อยากให้เน้นมากๆ ก็คือ 4 บทหลัก คะแนนก็เยอะด้วย ได้แก่ ลำดับอนุกรม หลังๆ จะออกสอบเยอะพอๆ กับสถิติ ให้เน้นหัวข้อเรื่องลิมิตของลำดับ ผลบวกอนันต์ อันนี้จะออกเยอะ มาต่อลิมิตความต่อเนื่อง
ในบทของแคลคูลัส ตรงนี้ออกแน่ๆ แล้วก็มาต่อเรื่องการหาอนุพันธ์ของฟังก์ชั่น แล้วก็บทประยุกต์ ค่าสูงสุด ต่ำสุด แล้วก็เรื่องการหาปฏิยานุพันธ์ เช่น การอินทิเกรท หรือการหาพื้นที่ใต้เส้นโค้ง
หัวข้อที่จะออก PAT1 PAT3 ให้ไปเน้นเรื่องการกระจายข้อมูล แบ่งเป็น การกระจายสัมบูรณ์ การกระจายสัมพัธ ต้องดูว่าการกระจายยังไง ใช้สูตรอะไรในการคำนวณบ้าง จบเรื่องนี้ก็เป็นค่า Z แล้วก็การหาพื้นที่ใต้เส้นโค้งปกติ
>>บทนี้ที่ต้องระวัง - บทฟันคะแนนเต็ม!!
ส่วนบทนี้ น้องๆ มักจะกลัว คือ เรียงสัดส่วน จัดหมู่ ความน่าจะเป็น เพราะถ้าอ่านไม่รอบคอบ บางทีคำนวณออกมาได้เร็ว เราอาจจะลืมจุดหลอกของโจทย์
ในบทเรื่องเรียงสับเปลี่ยน ให้น้องๆ แยกเป็นสองประเด็น ว่าในโจทย์นั้น ข้อสอบหลักๆ มันจะเรียงเป็นเส้นตรง หรือวงกลม เพราะฉะนั้นฝนเรื่องเรียงสับเปลี่ยน จัดหมู่ ขอให้อ่านโจทย์ให้รอบคอบนะครับ
บทที่ออกเยอะสำหรับแอดมิชชั่น หลักๆ จะมี 4 บท ได้แก่ ลำดับอนุกรม แคลคูลัส สถิติ เรขาคณิตวิเคราะห์ จะออกบทละประมาณ 4-5 ข้อ ค่อนข้างจะเยอะเลย รองลงมาก็เป็นเรื่องเวกเตอร์ เชิงซ้อน ตรีโกณ เอ็กซ์โปแนลเชียล ล็อกกาลิทึ่ม จำนวนจริง
แต่ไม่ว่าจะเป็นการสอบอะไร อย่าตกใจ ไม่ว่าจะเป็นระบบ หรือโครงสร้างแบบไหน ขอให้สอบมีสติ ขอให้รู้แะเข้าใจในบทนั้นอย่างแท้จริง
>> หลักสูตรเร่งรัด สำหรับคนแอบเว้นวรรคไปนาน อ่านยังไงให้ทันสอบ !!!
ส่วนการอ่าน ในวิชาคำนวณ ไม่ว่าจะ PAT1 หรือ PAT3 พี่ขอแนะว่า ถ้าใครที่เริ่มมาแล้วในช่วงเดือนนี้ อย่าเพิ่งทำข้อสอบฉบับรวม แบบย้อน 15 พ.ศ. อันนั้นพี่ขอเอาไว้สุดท้าย
แต่ในช่วง 2-3 สัปดาห์สุดท้ายนี้ พี่ขอให้อ่านแบบแยกบท โดยตามลำดับที่บอกไป ตั้งแต่ของ ม.4 ม.5 ม.6 อ่านแล้วค่อยฝึกทำโจทย์ในแต่ละบท แต่ถ้าอ่านแล้ว ทำโจทย์แล้ว แต่ทำไม่ได้ ให้น้องๆ ดูเฉลย แล้วดูให้เข้าใจด้วยตัวเองว่ามายังไง พอเข้าใจแล้วให้ปิดเฉลย แล้วมานั่งจับเวลากับแบบฝึกหัดที่เราทำในแต่ละบท เช่น เราทำเรื่องเซท 20 ข้อ เราต้องจับเวลาด้วยว่า ต้องทำไม่ให้เกินครึ่งชั่วโมง อย่าทำเกินครึ่งชั่วโมง แล้วติดข้อไหน ก็ให้ทำเหมือนเดิม
***ในวันสอบจริง*** หลังจากเขียนชื่อ ที่นั่งสอบ พี่ขอให้แบ่งเวลาว่า ในเวลา 180 นาที (3 ชั่วโมง) 120 นาทีแรก ให้ทำข้อที่ตัวเองทำได้ และมั่นใจว่าทำได้มากที่สุด ตรงนี้ต้องเก็บคะแนนตุนไว้แล้ว ส่วนส่วนเวลาที่เหลือ ให้น้องมาทบทวนทำข้อที่ทำไม่ได้ หรือไม่มั่นใจ แล้วอย่าลืมทบทวนความถูกต้อง ที่พลาดน่าเสียดายสุด คือ ระวังฝนเลขประจำตัวผิด !!!
>> ปัญหาใหญ่เด็กแอดฯ 55 แบบว่า..หนูติดชีวิตออนไลน์ (Facebook,Twitter,MSN)
พี่ว่าตรงนี้ก็มีประโยชน์นะ ถ้าเราใช้ให้เป็นประโยชน์ เช่น แต่ละคนถนัดคนละวิชา แล้วเราอ่านหนังสืออยู่ที่บ้าน ไม่รู้จะไปถามใคร ก็ใช้ตรงนี้ให้เป็นประโยชน์ ก็ลองเอามาโพสถามกันดีไหม ถามการบ้านก็ได้
พี่ก็อยากจะให้พวกเราพักบ้างก็ได้ แต่ต้องมีลิมิต เช่น วันนึงไม่เกินชั่วโมง ไปดูข่าวสารได้ว่า มีน้ำท่วม มีเลื่อนสอบ เราก็เอาตรงนี้มาใช้ให้เป็นประโยชน์ดีกว่า
แต่ทุกคนต้องพยายามฝืน ต้องคิดว่า ที่เราทำทุกวันนี้ เราทำเพื่อคุณพ่อคุณแม่ เวลาเราท้อ หรือเหนื่อย รู้สึกอยากพัก ขอให้คิดว่าสิ่งที่เราทำ เราทำเพื่อคุณพ่อคุณแม่ของเรา สิ่งที่เราเหนื่อย มันจะกลายเป็นแรงผลักดัน กระตุ้นให้เรากลับมาฮึดสู้ได้อีกครั้ง พี่เชื่อว่าน้องๆ ทำได้ เราทำโดยไม่คาดหวัง ว่าจะได้คะแนนเท่าไหร่ เราตะติดที่ไหน ให้เราคิดว่า เวลานี้ เราทำเต็มที่หรือยัง ถ้าเต็มที่แล้ว เมื่อเรามองย้อนกลับมาเราจะไม่เสียใจเลย
สุดท้ายนี้ พี่ก็ขออวยพรขอให้อำนาจคุณพระศรีรัตนไตร อำนาจพระบารมีอำนาจพระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ บุญกุศลที่ทำมา หล่อหลอม รวมเป็นพลัง ให้น้องๆชาว Dek-D.com มีสติ มีความมุ่งมั่น ความตั้งใจ พร้อมที่จะสู้ไปกับแอดมิชชั่นครั้งนี้ ขอให้น้องๆ ทุกคนโชคดีครับ ^_^
ว้าวๆๆ ได้เห็นหลักสูตรนี้แล้ว พี่แนนว่า น้องๆ หลายคนลองนำไปใช้กันดูนะคะ ถึงแม้จะเป็นโค้งสุดท้ายแล้ว แต่เราก็สามารถเริ่มต้นได้เสมอ ขอแต่เริ่ม "ตั้งแต่วันนี้" ยังไงก็ทำได้ค่ะ และขอเพียงน้องๆ ทำให้เต็มที่ ไม่ให้กลับมาคิดเสียดายทีหลัง เท่านี้ก็เพียงพอแล้วค่ะ
ชาว Dek-D.com หล่ะคะ เตรียมตัววิชาคำนวณ อย่างวิชาเลขใน PAT1 PAT3 กันยังไงบ้าง มาโพสต์บอกกันบ้างนะคะ ใครเตรียมไปถึงไหน มีเทคนิคยังไง มาแบ่งเพื่อนๆเด็กแอดมิชชั่น 55 จะได้แอดฯติดไปด้วยกันนะคะ โย่ว!!
จำนวนการดูหน้าเว็บรวม
วันพุธที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2554
4 ข้อควรจำ!! ระหว่างทำ GAT เชื่อมโยงในห้องสอบ
สวัสดีค่ะน้องๆ^^ นับถอยหลัง 3 อาทิตย์สุดท้ายก่อนสอบ GAT/PAT หลายคนคงพยายามหาเทคนิคทำ GAT ให้ได้ 300 เต็ม!! ซึ่งถ้ามีเทคนิคดีๆ แล้ว ทำ 300 คะแนน มันก็ไม่ได้ยากเกินไปสำหรับชาว Dek-D.com แน่นอน
นอกเหนือจากเทคนิคดีๆ ที่จะพาน้องๆ ได้คะแนนเหมือนเสกมา พี่มิ้นท์ยังมีข้อควรจำอีก 4 ข้อ ที่น้องๆ ต้องระลึกอยู่เสมอตลอดเวลาการสอบ GAT (เชื่อมโยง) เพื่ออุดรอยรั่วในจุดที่จะทำให้เราชวดคะแนนไป ส่วนจะมีอะไรบ้างนั้น ตามมาดูกันเลย~~
1.ตอบ 99H แล้ว จะไม่มีคำตอบอื่น คำตอบในพาร์ท GAT เชื่อมโยง จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนรหัสตัวเลข ตั้งแต่ 01 ไล่ไปเรื่อยๆ อีกส่วนนึง ก็คือ ส่วนตัวอักษร ซึ่งจะเป็นลักษณะความสัมพันธ์ ถ้ามีคำตอบที่เชื่อมโยงสัมพันธ์กัน ก็อย่ารอช้าใส่คำตอบแล้วตามด้วยตัวอักษร เช่น 01A เป็นต้น
แต่ถ้าคำตอบในรหัสข้อนั้นไม่สัมพันธ์เชื่อมโยงกับอะไรเลย น้องๆ ต้องใส่เลข 99 แล้วตามด้วย H (99H) ตรงนี้แหละค่ะ ที่น้องๆ ควรระวัง เพราะเมื่อใดก็ตามที่คำตอบข้อนั้นมี 99H แล้ว จะต้องมีเพียงคำตอบเดียว ไม่มีคำตอบอื่นๆ เลย
พี่มิ้นท์เชื่อว่าหลายคนคงเข้าใจว่า ข้อนึงมีคำตอบได้สูงสุด 4 คำตอบ ถ้ามันไม่เต็ม ก็เติม 99H เป็นการปิดท้าย ซึ่งเป็นความคิดที่ผิดเต็มๆ แถมโดนหักคะแนนด้วย ย้ำนะคะว่า ตอบ 99H แล้ว จะไม่มีคำตอบอื่นๆ อีกเลย
2.ต้องอ่านข้อความทั้งหมดอย่างละเอียด โดยปกติในบทความที่เค้าให้มา 2 หน้ากระดาษ ถ้าข้อความไหนเป็นข้อความสำคัญ ก็จะทำ"ตัวหนา" ไว้ พี่มิ้นท์ไม่แปลกใจเลยว่าทุกครั้งที่เราทำ ก็จะมองหาแต่ตัวหนา แล้วดูตัวหนาข้ออื่นๆ เพื่อ หาความเชื่อมโยงกัน ซึ่งเป็นเรื่องที่ถูกต้องแล้วค่ะ
แต่ที่อยากจะย้ำน้องๆ อีกนิดนึงก็คือ อย่ามองข้ามข้อความอื่นๆ ที่ไม่ได้ทำตัวหนาด้วย เพราะบางทีเราก็โดนหลอกโดยไม่รู้ตัว!! หลายครั้งที่ข้อสอบจะซ่อนใจความที่สามารถเอามาเชื่อมโยงได้เอาไว้ แต่มาแบบตัวอักษรธรรมดานี่แหละ เพราะฉะนั้นต้องทำด้วยความรอบคอบ อ่านทุกย่อหน้าให้จบทั้งบทความ ส่วนใครที่รอบคอบอยู่แล้ว ก็คงเห็นแล้วบอก "ฮั่นแน่ๆ มาซ่อนอะไรอยู่ตรงนี้ ฉันเห็นนะ!!"
แต่ที่อยากจะย้ำน้องๆ อีกนิดนึงก็คือ อย่ามองข้ามข้อความอื่นๆ ที่ไม่ได้ทำตัวหนาด้วย เพราะบางทีเราก็โดนหลอกโดยไม่รู้ตัว!! หลายครั้งที่ข้อสอบจะซ่อนใจความที่สามารถเอามาเชื่อมโยงได้เอาไว้ แต่มาแบบตัวอักษรธรรมดานี่แหละ เพราะฉะนั้นต้องทำด้วยความรอบคอบ อ่านทุกย่อหน้าให้จบทั้งบทความ ส่วนใครที่รอบคอบอยู่แล้ว ก็คงเห็นแล้วบอก "ฮั่นแน่ๆ มาซ่อนอะไรอยู่ตรงนี้ ฉันเห็นนะ!!"
3.ยึดข้อความในข้อนั้นเป็นประเด็นหลัก ทำไปทำมา ต้องมีอาการเอ๋อเหรอ มึนงงแน่นอน ประมาณว่าเฮ้ย! ต้องเอาอันนี้ไปโยงกับอันนู้น หรือเอาอันนู้นมาโยงกับอันนี้ แล้วก็จะจิตตก เอ๊ะแล้วข้อที่ผ่านมาเราทำยังไงล่ะเนี่ย
เพื่อป้องกันความงง ระหว่างทำต้องระลึกอยู่เสมอว่าเราทำอยู่ข้อไหน ก็เอาสติอยู่ที่ข้อนั้นด้วย ต้องดูใจความข้อนั้นเป็นหลัก แล้วดูข้อความในหมายเลขอื่นๆ ว่าจะสัมพันธ์หรือเชื่อมโยงกับข้อที่เรายืนอยู่มั้ยและเป็นแบบใด เช่น
01 เด็กหญิงมะนาวอ้วน
02 เพื่อนเรียกเด็กหญิงมะนาวว่าฮิปโป
สมมติว่ากำลังดูข้อความ 01 อยู่ ก็ต้องเอาสติผูกกับข้อ 01 ไว้เลย แล้วดูข้อ 02 ต่อ ว่ามีความสัมพันธ์กันยังไง ปรากฏว่า 02 ดันเป็นผลกระทบที่เกิดขึ้นตามมาจาก ข้อ 1 คือ เพราะเด็กหญฺิงมะนาวอ้วน เพื่อนก็เลยเรียกว่าน้องฮิปโปซะนี่ ความสัมพันธ์แบบนี้ใช้ตัวอักษร A ดังนั้น เมื่อได้คำตอบแล้ว ก็เอา 02A ไปใส่ในข้อ1 เป็นอันเสร็จเรียบร้อย
เพื่อป้องกันความงง ระหว่างทำต้องระลึกอยู่เสมอว่าเราทำอยู่ข้อไหน ก็เอาสติอยู่ที่ข้อนั้นด้วย ต้องดูใจความข้อนั้นเป็นหลัก แล้วดูข้อความในหมายเลขอื่นๆ ว่าจะสัมพันธ์หรือเชื่อมโยงกับข้อที่เรายืนอยู่มั้ยและเป็นแบบใด เช่น
01 เด็กหญิงมะนาวอ้วน
02 เพื่อนเรียกเด็กหญิงมะนาวว่าฮิปโป
สมมติว่ากำลังดูข้อความ 01 อยู่ ก็ต้องเอาสติผูกกับข้อ 01 ไว้เลย แล้วดูข้อ 02 ต่อ ว่ามีความสัมพันธ์กันยังไง ปรากฏว่า 02 ดันเป็นผลกระทบที่เกิดขึ้นตามมาจาก ข้อ 1 คือ เพราะเด็กหญฺิงมะนาวอ้วน เพื่อนก็เลยเรียกว่าน้องฮิปโปซะนี่ ความสัมพันธ์แบบนี้ใช้ตัวอักษร A ดังนั้น เมื่อได้คำตอบแล้ว ก็เอา 02A ไปใส่ในข้อ1 เป็นอันเสร็จเรียบร้อย
4.อย่าลืมฝนรหัสตอบ ลงในกระดาษคำตอบ ท้ายบทความจะมีตารางสรุปข้อความไว้ให้ สำหรับร่างคำตอบที่ได้ โดยจะมีที่เติมข้อละ 4 คำตอบ หลังจากที่ได้คำตอบครบแล้ว อย่าเพิ่งดีใจ โอ้ลัลล้า..คิดว่าทำเสร็จแล้ว แต่น้องๆ ยังต้องเอาคำตอบที่ได้ไปฝนในกระดาษคำตอบอีกครั้ง เพราะการคิดคะแนน GAT จะใช้เครื่องตรวจ กระดาษคำตอบแผ่นนี้จึงสำคัญมากๆๆๆ ถ้าไม่ฝนก็ไม่ได้คะแนนนะ จะบอกให้
สำหรับวิธีการฝน ก็ควรทำตามที่เค้ากำหนดไว้ คือ ฝนให้เต็มวง เครื่องจะได้ไม่มีปัญหาในการคิดคะแนนให้เราคะ ถ้าเป็นไปได้ เมื่อทำหนึ่งข้อใหญ่เสร็จ ให้ทบทวนคำตอบที่เราได้ให้เรียบร้อย แล้วลงมือฝนให้เสร็จทีเดียว แล้วค่อยไปเริ่มทำข้อสอง อย่ามัวแต่ไปจุดหรือทำสัญลักษณ์อะไรไว้ในกระดาษคำตอบ เพราะถ้าทำไม่ทันเวลาขึ้นมา จะเสียคะแนนตรงนั้นฟรีๆ
สำหรับวิธีการฝน ก็ควรทำตามที่เค้ากำหนดไว้ คือ ฝนให้เต็มวง เครื่องจะได้ไม่มีปัญหาในการคิดคะแนนให้เราคะ ถ้าเป็นไปได้ เมื่อทำหนึ่งข้อใหญ่เสร็จ ให้ทบทวนคำตอบที่เราได้ให้เรียบร้อย แล้วลงมือฝนให้เสร็จทีเดียว แล้วค่อยไปเริ่มทำข้อสอง อย่ามัวแต่ไปจุดหรือทำสัญลักษณ์อะไรไว้ในกระดาษคำตอบ เพราะถ้าทำไม่ทันเวลาขึ้นมา จะเสียคะแนนตรงนั้นฟรีๆ
เชื่อว่าเวลาลงมือทำข้อสอบ น้องๆ ต้องตื่นเต้นแน่นอน ยังไงก็อย่าลืมสิ่งสำคัญที่สุด นั่นก็คือ "สติ" อย่าลน อย่ารีบร้อน เพราะถ้าสติไม่มา ปัญญาก็ไม่เกิดนะคะ แล้วก็ใช้ความชำนาญและทักษะที่ได้ฝึกมาหลายเดือนมาใช้ให้เต็มที่ และก็ฝาก 4 ข้อควรจำนี้ให้น้องๆ กลับไปท่องจำให้ขึ้นใจด้วย ก่อนที่จะเสียคะแนนแบบไม่ได้ตั้งใจ
วันพุธที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2554
7 วิชาสามัญ คืออะไร และต้องสอบทั้ง 7 วิชาเลยไหม
7 วิชาสามัญ คืออะไร และต้องสอบทั้ง 7 วิชาเลยไหม
ใครต้องสมัครบ้าง
คนที่สมัครได้คือ น้องๆ ม.6 ปวช. กศน. หรือพี่ๆ เด็กซิ่ว พ่อแม่ที่จบสูงกว่า ม.6 ขึ้นไปจ้า
มหาวิทยาลัยไหนต้องใช้คะแนน 7 วิชาสามัญนี้บ้าง
7 วิชาสามัญกับเคลียริ่งเฮ้าส์ มันคืออันเดียวกันไหม
สมัครที่ไหน อย่างไร
สทศ. บอกมาว่าเป็นข้อสอบที่ยากกว่า O-NET แต่ง่ายกว่า GAT PAT จัดทำขึ้นมาเพื่อแก้ไขปัญหาในอดีตที่สมัยก่อนหากเด็ก ม.6 สมัครรับตรง 5 ที่ ก็ต้องวิ่งหัวฟูไปสอบ 5 ครั้ง แต่หากเป็นปีนี้สบายมาก ไม่ว่าจะสมัครกี่ที่ ก็สอบแค่ครั้งเดียวจบ คือ สอบ 7 วิชาสามัญครั้งเดียว ชุดเดียว ทั่วประเทศจบไปเลย โดย 7 วิชาสามัญนี้แต่ละคณะจะสอบไม่เท่ากันนะครับ บางคณะก็สอบหมด 7 วิชา บางคณะก็สอบแค่ 3 ดังนั้น น้องๆ ต้องไปดูในระเบียบการรับตรงแต่ละมหาวิทยาลัย ว่าคณะที่เราจะเข้า เขาได้มากำหนดให้สอบวิชาไหน ส่วนมหาวิทยาลัยไหนไม่กำหนด ก็ไม่ต้องสอบจ้า
ใครต้องสมัครบ้าง
คนที่สมัครได้คือ น้องๆ ม.6 ปวช. กศน. หรือพี่ๆ เด็กซิ่ว พ่อแม่ที่จบสูงกว่า ม.6 ขึ้นไปจ้า
มหาวิทยาลัยไหนต้องใช้คะแนน 7 วิชาสามัญนี้บ้าง
มีประมาณ 7 แห่งครับ ยกตัวอย่างเช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (คณะอักษรศาสตร์ - คณะนิติศาสตร์ - คณะเศรษฐศาสตร์ - คณะวิทยาศาสตร์ - คณะครุศาสตร์) มหาวิทยาลัยศิลปากร (คณะอักษรศาสตร์ - คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร - คณะวิทยาการจัดการ - คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร - คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม - คณะวิทยาศาสตร์ - คณะศึกษาศาสตร์) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (คณะสหเวชศาสตร์) รับตรง กสพท. (คณะแพทยศาสตร์ - คณะทันตแพทยศาสตร์) และยังมีอีกหลายวิทยาลัยนะครับ น้องๆ อย่าลืมไปเช็คที่เว็บมหาวิทยาลัยนั้นๆ ด้วยนะ
7 วิชาสามัญกับเคลียริ่งเฮ้าส์ มันคืออันเดียวกันไหม
คนละอันกันครับ พูดง่ายๆ ก็คือ 7 วิชาสามัญเป็นส่วนหนึ่งในระบบเคลียริ่งเฮ้าส์ โดยยกตัวอย่างว่า ระบบ "เคลียริ่งเฮ้าส์" จะเป็นระบบที่เปิดให้น้องๆ มายืนยันสิทธิ์เข้าศึกษาได้เพียงแค่ 1 คณะเท่านั้น เช่น พี่ลาเต้ วิ่งสอบรับตรงทั่วประเทศติดทั้งหมด 4 มหาวิทยาลัย โดย 4 มหาวิทยาลัยที่ติดนั้นเข้าร่วม "เคลียริ่งเฮ้าส์" ทั้งหมด พอถึงเวลาที่ยืนยันสิทธิ์ พี่ลาเต้ ก็เลือกได้แค่ 1 แห่งเท่านั้น ส่วนที่เหลืออีก 3 แห่งก็จะกลายเป็นที่นั่งว่าง และรับเพิ่มในรอบแอดมิชชั่นกลางต่อไป ซึ่งต่างจากปีก่อนๆ ที่หากสอบตรงติด 4 ที่ ก็ยืนยันสิทธิ์มัน 4 ที่ไปเลยก็ได้ จนอาจเป็นกักที่คนอื่นในที่สุด T^T ส่วน 7 วิชาสามัญ เป็นข้อสอบ 7 วิชาที่จัดสอบโดย สทศ. ออกมาเพื่อลดปัญหาการวิ่งรอกสอบของน้องๆ และลดภาระการจัดสอบของแต่ละมหาวิทยาลัยนั้นเอง (GET แล้วใช่ปะ)
มีคณะไหน ที่สอบทั้ง GAT PAT และ 7 วิชาสามัญ แถมยังเข้าเคลียริ่งเฮ้าส์ไหมครับ
มีครับ หลายคณะเลย พี่ขอยกตัวอย่างเป็นคณะสหเวชศาสตร์ ธรรมศาสตร์ดีกว่า น้องๆ ที่สอบคณะนี้ก็ใช้ชีวิตตามปกติไปสอบ GAT PAT ในเดือน พ.ย. 54 จากนั้นเดือน ม.ค. 55 ก็ไปสอบ 7 วิชาสามัญ (รู้สึกสหเวชฯ จะใช้แค่ 6 วิชา) ซึ่งหลังจากที่กระบวนสอบต่างๆ เสร็จ ก็จะมีการประกาศผลว่าใครติด หรือไม่ติด (หากติดก็ดีใจด้วย เย้ เย้) จากนั้นประมาณเดือนมีนาคมปี 55 น้องๆ ที่ติดผ่านรับตรงของสหเวชฯ ม.ธรรมศาสตร์ ก็จะต้องไปยืนยันสิทธิ์ในระบบ "เคลียริ่งเฮ้าส์" ทางเว็บไซต์ของ สอท.เพื่อยืนยันว่าจะเลือกศึกษาเข้าที่ไหน ไม่ว่าเราจะติดกี่มหาวิทยาลัย หรือแม้แต่จะติดแค่มหาลัยเดียว ก็ต้องยืนยันสิทธิ์ครับ เพราะไม่งั้นอดเรียนแน่ๆ
สมัครที่ไหน อย่างไร
ขั้นตอนการสมัคร จะเหมือนกันกับสมัคร GAT PAT เลยครับ มีให้เลือกสนามสอบด้วยนะ ระบบจะเปิดให้สมัครตั้งแต่วันที่ 1 - 30 ตุลาคม 54 และสอบในต้นเดือนมกราคม 55 ส่วนค่าสมัครวิชาละ 100 บาทคร้าบ อ๋อๆ สนามที่ใช้สอบเบื้องต้นมี 4 ศูนย์นะครับ คือ กรุงเทพฯ (สนามสอบจุฬาฯ ธรรมศาสตร์) ขอนแก่น (ม.ขอนแก่น) เชียงใหม่ (ม.เชียงใหม่) พิษณุโลก (ม.นเรศวร) และสงขลา (มอ.หาดใหญ่) ซึ่งหากมียอดผู้สมัครมาก ทาง สทศ.อาจเพิ่มสนามสอบให้ครับ รอติดตามๆ ว่าแล้วก็ไปสมัครกันเลยที่เว็บ www.niets.or.th
วันพุธที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554
ความแตกต่างระหว่าง O-NET/ GAT-PAT/ วิชาสามัญ
ข้อสอบเป็นยังไง ? O-NET : ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าเป็นการทดสอบทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพราะฉะนั้นลักษณะข้อสอบจึงเป็นเนื้อหาที่เรียนกันในระดับม.ปลาย เป็นความรู้พื้นฐานตามหลักสูตรค่ะ ส่วนหนึ่งเพื่อเป็นการทดสอบวัดผลการเรียนของโรงเรียนนั้นๆ
GAT-PAT : จะเริ่มเป็นข้อสอบที่เน้นเรื่องวิชาชีพและความถนัดในแต่ละอาชีพมากขึ้น เช่น ความถนัดทางวิชาชีพครู ความถนัดทางวิศวกรรม เป็นต้น โดยเป็นความรู้ในระดับมหาวิทยาลัย เพื่อวัดความสามารถ การคิดวิเคราะห์ต่างๆ จะได้คัดเด็กกันแบบเน้นๆ เพราะฉะนั้นข้อสอบฉบับนี้ก็จะยากขึ้นด้วย
7 วิชาสามัญ : เป็นเนื้อหาตามหลักสูตรที่อยู่ในบทเรียนตั้งแต่ ม.4-6 แต่จะยากกว่าข้อสอบโอเน็ตเพราะเป็นข้อสอบที่ใช้คัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัย โดยเนื้อหาจะออกให้ตรงกับที่มหาวิทยาลัยมากที่สุด เป็นปรนัย 5 ตัวเลือก
GAT-PAT : จะเริ่มเป็นข้อสอบที่เน้นเรื่องวิชาชีพและความถนัดในแต่ละอาชีพมากขึ้น เช่น ความถนัดทางวิชาชีพครู ความถนัดทางวิศวกรรม เป็นต้น โดยเป็นความรู้ในระดับมหาวิทยาลัย เพื่อวัดความสามารถ การคิดวิเคราะห์ต่างๆ จะได้คัดเด็กกันแบบเน้นๆ เพราะฉะนั้นข้อสอบฉบับนี้ก็จะยากขึ้นด้วย
7 วิชาสามัญ : เป็นเนื้อหาตามหลักสูตรที่อยู่ในบทเรียนตั้งแต่ ม.4-6 แต่จะยากกว่าข้อสอบโอเน็ตเพราะเป็นข้อสอบที่ใช้คัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัย โดยเนื้อหาจะออกให้ตรงกับที่มหาวิทยาลัยมากที่สุด เป็นปรนัย 5 ตัวเลือก
สอบตอนไหน ? O-NET : สอบช่วงเดือน กุมภาพันธ์ของทุกปี
GAT-PAT : ตั้งแต่นี้เป็นต้นไป จะสอบได้เพียง 2 ครั้ง คือ ในเดือนตุลาคมและมีนาคม
7 วิชาสามัญ : ต้นเดือนมกราคม
GAT-PAT : ตั้งแต่นี้เป็นต้นไป จะสอบได้เพียง 2 ครั้ง คือ ในเดือนตุลาคมและมีนาคม
7 วิชาสามัญ : ต้นเดือนมกราคม
ใครเป็นคนออกข้อสอบ ? O-NET : อาจารย์ระดับมัธยมปลายที่มีความเชี่ยวชาญในการออกข้อสอบ (อาจจะเป็นคุณครูของน้องๆ ก็ได้ แต่เค้าปิดเป็นความลับขั้นสุดยอดว่าใครเป็นคนออก) โดยมี สทศ.เป็นหน่วยงานจัดสอบ
GAT-PAT : อาจารย์ระดับมหาวิทยาลัย
7 วิชาสามัญ : อาจารย์ระดับมหาวิทยาลัย
GAT-PAT : อาจารย์ระดับมหาวิทยาลัย
7 วิชาสามัญ : อาจารย์ระดับมหาวิทยาลัย
สอบอะไรบ้าง ? O-NET : มี 6 ฉบับ 8 วิชา คือ ภาษาไทย, คณิตศาสตร์, สังคมศึกษา, ภาษาอังกฤษ, วิทยาศาสตร์, สุขศึกษา พลศึกษา ศิลปะ การงานอาชีพและเทคโนโลยี
GAT-PAT : GAT แบ่งออกเป็น 2 พาร์ทใหญ่ๆ คือ พาร์ทเชื่อมโยงวัดการวิเคราะห์และทักษะการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ อีกพาร์ทนึง คือ พาร์ทภาษาอังกฤษ ส่วน PAT วัดความถนัดในสาขาต่างๆ มีอีก 7 ฉบับ คือ ความถนัดทางคณิตศาสตร์, ความถนัดทางวิทยาศาสตร์, ความถนัดทางวิศวกรรมศาสตร์, ความถนัดทางสถาปัตยกรรมศาสตร์, ความถนัดทางวิชาชีพครู, ความถนัดทางศิลปกรรมศาสตร์ และความถนัดภาษาต่างประเทศอีก 6 ภาษา คือ ฝรั่งเศส เยอรมัน ญี่ปุ่น จีน อาหรับและภาษาบาลี
7 วิชาสามัญ : มีทั้งหมด 7 วิชา คือ ภาษาไทย, ภาษาอังกฤษ, สังคมศึกษา, คณิตศาสตร์, ฟิสิกส์, เคมี, ชีวะ โดยไม่มีวิชาหมวดศิลปะ สุขศึกษา ฯลฯ ซึ่งเป็นความแตกต่างจากข้อสอบโอเน็ต
สมัครสอบยังไง ? O-NET : ทางโรงเรียนเป็นผู้สมัครสอบให้ แต่ในกรณีของนักเรียนเทียบเท่าจะต้องสมัครสอบเอง ประมาณเดือนพฤศจิกายน ทางเว็บไซต์ของ สทศ. www.niets.or.th
GAT-PAT : สมัครด้วยตัวเองทางเว็บไซต์ www.niets.or.th โดยจะเปิดรับสมัครกัน 2 รอบ รอบแรกสมัครสอบช่วงเดือน ก.ค.(ปิดรับสมัครแล้ว) และรอบสองสมัครสอบช่วงเดือนพฤศจิกายน โดย GAT จะต้องสอบทุกคน PAT สามารถเลือกสอบเฉพาะวิชาที่ใช้ได้
7 วิชาสามัญ : สมัครด้วยตัวเอง ตลอดเดือนตุลาคม เลือกเฉพาะวิชาที่จะสอบ
GAT-PAT : สมัครด้วยตัวเองทางเว็บไซต์ www.niets.or.th โดยจะเปิดรับสมัครกัน 2 รอบ รอบแรกสมัครสอบช่วงเดือน ก.ค.(ปิดรับสมัครแล้ว) และรอบสองสมัครสอบช่วงเดือนพฤศจิกายน โดย GAT จะต้องสอบทุกคน PAT สามารถเลือกสอบเฉพาะวิชาที่ใช้ได้
7 วิชาสามัญ : สมัครด้วยตัวเอง ตลอดเดือนตุลาคม เลือกเฉพาะวิชาที่จะสอบ
มีเวลาทำข้อสอบกี่นาที ? O-NET : ไม่มากไม่น้อยเกินไป วิชาละ 2 ชั่วโมงถ้วนค่ะ
GAT-PAT : จัดไปเต็มๆ วิชาละ 3 ชั่วโมง
7 วิชาสามัญ : 1 ชั่วโมง 30 นาที
คะแนนเต็มเท่าไหร่ ? O-NET : วิชาละ 100 คะแนน
GAT-PAT : วิชาละ 300 คะแนน
7 วิชาสามัญ : วิชาละ 100 คะแนน
สอบมาแล้ว คะแนนเก็บได้กี่ปี ? O-NET : สอบได้ครั้งเดียวตอน ม.6 หลังจากนั้นคะแนนจะอยู่กับเราไปตลอดกาลนาน
GAT-PAT : อยู่ได้ 2 ปี
7 วิชาสามัญ : ใช้ได้ปีต่อปี ปีหน้าจะสอบใหม่ก็ต้องสมัครใหม่ค่ะ
เอาคะแนนไปทำอะไรได้บ้าง ? O-NET : เป็นองค์ประกอบนึงในการคัดเลือกเข้าในระบบแอดมิชชั่นกลาง รวมถึงใช้เป็นเกณฑ์ขั้นต่ำในการสอบ กสพท. นอกจากนี้ยังใช้ประเมินคุณภาพการศึกษาในโรงเรียนระดับมัธยมด้วย ดังนั้น โรงเรียนจะคุณภาพทางการศึกษาดีหรือไม่ดี ขึ้นอยู่กับน้องๆ ด้วยนะ
GAT-PAT : เป็นองค์ประกอบในการคัดเลือกทั้งในระบบสอบตรงและแอดมิชชั่นกลาง (เลือกคะแนนที่ดีที่สุด แต่สอบตรง ส่วนใหญ่จะใช้ GAT/PAT รอบตุลาคม)
7 วิชาสามัญ : เป็นข้อสอบกลาง ใช้ในการคัดเลือกระบบรับตรงของมหาวิทยาลัยที่เข้าร่วมระบบเคลียริ่งเฮ้าส์ (บางมหาวิทยาลัยไม่ใช้คะแนนส่วนนี้ เพราะจัดสอบเอง)
GAT-PAT : เป็นองค์ประกอบในการคัดเลือกทั้งในระบบสอบตรงและแอดมิชชั่นกลาง (เลือกคะแนนที่ดีที่สุด แต่สอบตรง ส่วนใหญ่จะใช้ GAT/PAT รอบตุลาคม)
7 วิชาสามัญ : เป็นข้อสอบกลาง ใช้ในการคัดเลือกระบบรับตรงของมหาวิทยาลัยที่เข้าร่วมระบบเคลียริ่งเฮ้าส์ (บางมหาวิทยาลัยไม่ใช้คะแนนส่วนนี้ เพราะจัดสอบเอง)
จะสมัครสอบ ต้องจ่ายเท่าไหร่ ? O-NET : ฟรี! ฟรี! ฟรี!
GAT-PAT : วิชาละ 140 บาท (ไม่รวมค่าธรรมเนียมธนาคาร)
7 วิชาสามัญ : วิชาละ 100 บาท
GAT-PAT : วิชาละ 140 บาท (ไม่รวมค่าธรรมเนียมธนาคาร)
7 วิชาสามัญ : วิชาละ 100 บาท
ข้อสอบนี้ มันยากหรือง่าย ? O-NET : เมื่อเทียบกับข้อสอบ 3 ชุด ง่ายที่สุด เพราะเป็นเนื้อหาระดับพื้นฐาน
GAT-PAT : ยาก!! เพราะอาจารย์มหาวิทยาลัยเป็นผู้ออก แต่อาจจะใช้เซ้นส์พอเดาทางได้
7 วิชาสามัญ : ยาก!! เนื่องจากเป็นข้อสอบที่ใช้คัดเลือกและมีความเข้มข้นทางด้านเนื้อหา ดังนั้นจึงมีระดับความยากใกล้เคียงกับ PAT หรืออาจจะมากกว่าด้วยซ้ำ (เพราะฉะนั้นอย่าชะล่าใจ คิดว่าจะชิวนะ หึหึ)
GAT-PAT : ยาก!! เพราะอาจารย์มหาวิทยาลัยเป็นผู้ออก แต่อาจจะใช้เซ้นส์พอเดาทางได้
7 วิชาสามัญ : ยาก!! เนื่องจากเป็นข้อสอบที่ใช้คัดเลือกและมีความเข้มข้นทางด้านเนื้อหา ดังนั้นจึงมีระดับความยากใกล้เคียงกับ PAT หรืออาจจะมากกว่าด้วยซ้ำ (เพราะฉะนั้นอย่าชะล่าใจ คิดว่าจะชิวนะ หึหึ)
เลือกสนามสอบเองได้ปะ ? O-NET : เลือกไม่ได้ ผู้จัดสอบจัดสนามให้ ถ้าโชคดีก็จะได้อยู่ในโรงเรียนตัวเอง ถ้าโชคร้ายก็ไปโรงเรียนอื่น (ที่ไม่ไกลมาก)
GAT-PAT : เลือกเองได้
7 วิชาสามัญ : เลือกเองได้ (แต่เท่าที่ประกาศออกมาตอนนี้ เปิดเพียงแค่ 4 สนาม คือ กทม., เชียงใหม่, ขอนแก่นและสงขลา ยังไม่รู้ว่าอนาคตจะเปิดเพิ่มมั้ย)
GAT-PAT : เลือกเองได้
7 วิชาสามัญ : เลือกเองได้ (แต่เท่าที่ประกาศออกมาตอนนี้ เปิดเพียงแค่ 4 สนาม คือ กทม., เชียงใหม่, ขอนแก่นและสงขลา ยังไม่รู้ว่าอนาคตจะเปิดเพิ่มมั้ย)
วันพุธที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554
ปฏิทินชีวิตเด็กแอด 55
***หมายเหตุ การประกาศผลสอบ ของ กสพท. ยังไม่กำหนดวันแน่นอน ถ้าชัดเจนแล้วจะมาแจ้งอีกทีค่า
สรุปคร่าวๆ = เสาร์ - อาทิตย์ มีแต่สอบ
การสอบครั้งที่ 1 คือ 24 - 27 ธ.ค. สอบ GAT/PAT ครั้งที่ 1 สอบ 4 วันรวด
>> หลังจากนั้นอีก 10 วัน สอบ 7 วิชาสามัญ
>> หลังจากนั้นอีก 12 วัน สอบ วิชาเฉพาะแพทย์ (สำหรับคนสมัครสอบ กสพท.)
>> หลังจากนั้นอีก 27 วัน สอบ O-NET สอบ 2 วัน
>> หลังจากนั้นอีก 12 วัน สอบ GAT/PAT ครั้งที่ 2 รอบเดือนมีนาคม อีก 4 วันรวด
>> หลังจากนั้นอีก 10 วัน สอบ 7 วิชาสามัญ
>> หลังจากนั้นอีก 12 วัน สอบ วิชาเฉพาะแพทย์ (สำหรับคนสมัครสอบ กสพท.)
>> หลังจากนั้นอีก 27 วัน สอบ O-NET สอบ 2 วัน
>> หลังจากนั้นอีก 12 วัน สอบ GAT/PAT ครั้งที่ 2 รอบเดือนมีนาคม อีก 4 วันรวด
เพราะฉะนั้นน้องๆ จะเห็นแล้วว่า พอเสร็จไปสนามสอบนึง มีเวลาอีกแค่ไม่ถึงเดือนก็จะสอบในสนามต่อไปแล้ว น้อยสุด ก็ 10 วัน เรียกได้ว่ายังไม่ทันทำไรก็ต้องมุดหน้าอ่านหนังสือเตรียมสอบอีกแล้ว
ที่สำคัญ พี่มิ้นท์ยังไม่ได้รวม สอบกลางภาคซึ่งจะเกิดขึ้นในช่วง เดือนธันวาคม สอบตรงมหาวิทยาลัยต่างๆ ที่น่าจะทยอยสอบกันช่วง ธันวา-มกรา และยังมี สอบปลายภาคในเดือน กุมภาพันธ์ด้วย เอาเข้าจริง น้องๆ น่าจะมีเวลาเตรียมตัวสอบแต่ละอย่างก็ประมาณ 1-2 อาทิตย์เท่านั้น ดังนั้น ใครไม่อยากเครียดหรือสติแตกตอนใกล้สอบ ต้องวางแผนดีๆ ซะแล้ว ถัดมา ในเดือนเมษายน จะเป็นช่วงเวลาของการแอดมิชชั่นกลาง คือ ตอนนั้นจะได้คะแนนทุกอย่างมาแล้ว ก็ต้องคำนวณคะแนนของตัวเอง และหาคณะที่อยากเรียน หลังจากนั้นก็เลือกคณะ สุดท้ายก็นั่งลุ้นผลที่ตื่นเต้นที่สุดในชีวิต ในเดือนพฤษภาคมค่ะ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)